๓. สภาพทางสังคม
๓.๑ การศึกษา
- โรงเรียนประถมศึกษา ๓ แห่ง
- โรงเรียนอาชีวศึกษา ๑ แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๔ แห่ง
- ศูนย์การเรียนชุมชน ๑ แห่ง
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน ๑๗ แห่ง
- ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร ๑ แห่ง
๓.๒ สถาบันและองค์การศาสนา
- วัด ๙ แห่ง
- โบสถ์คริสต์ ๑ แห่ง
๓.๓ สาธารณสุข
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ๑ แห่ง
- อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำร้อยละ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์
๓.๔ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ไม่มีสถานีตำรวจ
- มีตู้ยามสายตรวจตำรวจ จำนวน ๑ ตู้
- มีรถน้ำดับเพลิงอเนกประสงค์ จำนวน ๑ คัน
๔. การบริการพื้นฐาน
๔.๑ การคมนาคม
- องค์การบริหารส่วนตำบลก้ามปูมีเส้นทางเชื่อมหมู่บ้านภายในตำบลดังนี้
๔.๒ การโทรคมนาคม
- โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน ๑๓ ตู้
- โทรศัพท์ที่ใช้ในหมู่บ้าน จำนวน ๗๘ เครื่อง
๔.๓ การไฟฟ้า
- จำนวนหมู่บ้านที่ใช้ไฟฟ้า จำนวน ๑๗ หมู่บ้าน
- จำนวนประชากรที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ไม่มี
๔.๔ แหล่งน้ำธรรมชาติ
- หนองน้ำ ๑๕ แห่ง
๔.๕ แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- บ่อน้ำตื้น ๑ แห่ง
- บ่อน้ำโยก ๔ แห่ง
- ประปา ๑๒ แห่ง
- คลองส่งน้ำ ๑ แห่ง
๕. ข้อมูลอื่น ๆ
๕.๑ ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
- องค์การบริหารส่วนตำบลก้ามปู มีทรัพยากรป่าไม้เบญจพรรณเล็ก ๆ และป่าละเมาะสลับกับทุ่งนา
๕.๒ มวลชนจัดตั้ง
- ลูกเสือชาวบ้าน จำนวน ๓ รุ่น ๕๐๐ คน
- กลุ่มประชาอาสาป้องกันยาเสพติด จำนวน ๑๖๐ คน
- กลุ่มสมาชิก อปพร. จำนวน ๑๘๐ คน
๖. ศักยภาพในตำบล
ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล
๖.๑ จำนวนบุคลากร จำนวน ๓๕ คน
ตำแหน่งในสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ๑๓ คน
ตำแหน่งในกองคลัง ๔ คน
ตำแหน่งในกองช่าง ๓ คน
ตำแหน่งส่วนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ๑๓ คน
ตำแหน่งส่วนสวัสดิการและสังคม ๒ คน
๖.๒ ระดับการศึกษาของบุคลากร
- มัธยมศึกษาตอนปลาย ๕ คน
- อาชีวศึกษา ๑ คน
- ปริญญาตรี ๒๖ คน
- ปริญญาโท ๓ คน
๖.๓ รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล
ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๖ ๒๐,๙๕๙,๕๐๐ บาท แยกเป็น
รายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเก็บเอง ๑๔๙,๕๐๐ บาท
รายได้ที่ส่วนราชการต่าง ๆ จัดเก็บให้ ๑๐,๖๑๐,๐๐๐ บาท
เงินอุดหนุนจากรัฐบาล ๑๐,๒๐๐,๐๐๐ บาท
๗. ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่
๗.๑ การรวมกลุ่มของประชาชน
- กลุ่มอาชีพ ๑๐ กลุ่ม
- กลุ่มออมทรัพย์ ๑๗ กลุ่ม
- กลุ่มอื่น ๆ ๑๖ กลุ่ม
๗.๒ จุดเด่นของพื้นที่
องค์การบริหารส่วนตำบลก้ามปู มีสภาพเป็นที่ราบลุ่มเหมาะสมที่จะทำการเกษตร เช่น
การทำนา ทำสวน หรือแม้กระทั่งการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ เช่น โค กระบือและเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่สำคัญแห่งของอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย
๗.๓ ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของท้องถิ่น
โครงสร้างและขบวนการบริหารงานบุคคลองค์การบริหารส่วนตำบลก้ามปู เป็น อบต.ขนาด
กลางพิเศษ ได้ปรับปรุงแผนอัตรากำลัง ๓ ปี แต่ พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๗ โดยแยกโครงสร้างของส่วนราชการ ออกดังนี้
๒. สภาพทางเศรษฐกิจ
๒.๑ อาชีพ
- เกษตรกรรม (ทำนา)
- รับจ้าง
- ค้าขาย
- ข้าราชการ ลูกจ้างของรัฐ
๒.๒ หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลก้ามปูมี
- ปั๊มน้ำมันและก๊าซ ๑ แห่ง
- โรงสี ๑๙ แห่ง
- ร้านค้า ๗๘ แห่ง
๑. สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลก้ามปู
องค์การบริหารส่วนตำบลก้ามปู ตั้งอยู่รอบนอกเขตเทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ทางทิศเหนือของอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม มีระยะทางห่างจากอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ประมาณ ๔ กิโลเมตร และมีอาณาเขต ดังนี้
๑.๑ ที่ตั้ง
ทิศเหนือจดตำบลภารแอ่น ทิศใต้จดตำบลปะหลาน ทิศตะวันออกจดตำบลเวียงชัยและตำบลหนองบัวแก้ว ทิศตะวันตกจดตำบลลานสะแก เนื้อที่องค์การบริหารส่วนตำบลก้ามปู มีเนื้อที่ทั้งหมด ๔๒ ตร.กม. หรือมีเนื้อที่ ๒๖,๒๕๐ ไร่
๑.๒ ลักษณะภูมิประเทศ
องค์การบริหารส่วนตำบลก้ามปู มีสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบไม่มีภูเขาหรือแม่น้ำไหลผ่าน
๑.๓ ลักษณะภูมิอากาศ
แบ่งออกเป็นสามฤดู (แบบมรสุม) คือ
- ฤดูร้อน ระหว่างเดือน มีนาคม ถึงเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ ๒๙ องศาเซลเซียส
- ฤดูฝน ระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึงตุลาคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ ๒๖ องศาเซลเซียส
- ฤดูหนาว ระหว่างเดือน พฤศจิกายน ถึงกุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ ๑๙ องศาเซลเซียส
- อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ ๒๔ องศาเซลเซียส
๑.๔ เขตการปกครอง
จำนวนหมู่บ้าน ๑๗ หมู่บ้าน
จำนวนหมู่บ้านในเขต อบต. เต็มทั้งหมู่บ้าน ๑๗ หมู่ ได้แก่
๑. หมู่ที่ ๑ บ้านโนนปอ ๒. หมู่ที่ ๒ บ้านนาเลาะ
๓. หมู่ที่ ๓ บ้านโนนรัง ๔. หมู่ที่ ๔ บ้านหนองสนม
๕. หมู่ที่ ๕ บ้านดอนแคน ๖. หมู่ที่ ๖ บ้านหัวหมู
๗. หมู่ที่ ๗ บ้านคูรัง ๘. หมู่ที่ ๘ บ้านดอนติ้ว
๙. หมู่ที่ ๙ บ้านหนองขาม ๑๐. หมู่ที่ ๑๐ บ้านหนองผือ
๑๑. หมู่ที่ ๑๑ บ้านโนนสมบูรณ์ ๑๒. หมู่ที่ ๑๒ บ้านไทยเจริญ
๑๓. หมู่ที่ ๑๓ บ้านดอนติ้ว ๑๔. หมู่ที่ ๑๔ บ้านหัวหมู
๑๕. หมูที่ ๑๕ บ้านหนองสนม ๑๖. หมู่ที่ ๑๖ บ้านไผ่ทองพัฒนา
๑๗. หมู่ที่ ๑๗ บ้านดอนแคนใต้
จำนวนหมู่บ้านในเขต อบต. บางส่วน ไม่มี
๑.๕ ประชากร
ประชากรทั้งสิ้น ๖,๘๗๐ คน แยกเป็นชาย ๓,๔๑๘ คน หญิง ๓,๔๕๒ คน
มีความหนาแน่น เฉลี่ย ๑๖๓.๒๑ คน / ตารางกิโลเมตร
แยกประชากรตามหมู่บ้าน
หมู่ที่ | ชื่อหมู่บ้าน | ประชากร |
รวมจำนวน ประชากร |
จำนวน ครัวเรือน |
|
ชาย | หญิง | ||||
1 | บ้านโนนปอ | 95 | 113 | 208 | 58 |
2 | บ้านนาเลาะ | 114 | 128 | 242 | 62 |
3 | บ้านโนนรัง | 171 | 161 | 332 | 88 |
4 | บ้านหนองสนม | 262 | 248 | 510 | 140 |
5 | บ้านดอนแคน | 120 | 128 | 248 | 69 |
6 | บ้านหัวหมู | 176 | 182 | 358 | 118 |
7 | บ้านคูรัง | 170 | 167 | 337 | 75 |
8 | บ้านดอนติ้ว | 238 | 232 | 470 | 123 |
9 | บ้านหนองขาม | 414 | 406 | 820 | 199 |
10 | บ้านหนองผือ | 336 | 309 | 645 | 174 |
11 | บ้านโนนสมบูรณ์ | 103 | 103 | 206 | 47 |
12 | บ้านไทยเจริญ | 196 | 191 | 387 | 94 |
13 | บ้านดอนติ้ว | 312 | 327 | 639 | 170 |
14 | บ้านหัวหมู | 150 | 166 | 316 | 79 |
15 | บ้านหนองสนม | 182 | 206 | 388 | 83 |
16 | บ้านไผ่ทองพัฒนา | 189 | 187 | 376 | 106 |
17 | บ้านดอนแคนใต้ | 190 | 198 | 388 | 107 |
รวม | 3,418 | 3,452 | 6,870 | 1,792 |
ที่มา : ข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๖