สมาชิก

สถิติ

วันนี้ 2

เมื่อวานนี้ 14

สัปดาห์นี้ 52

เดือนนี้ 137

ทั้งหมด 2478

Currently are 3 guests and no members online

Kubik-Rubik Joomla! Extensions

                                                               ใครบ้างที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการทำงานของ อบต.
๑.ประชาชน
    ๑.๑ ประชาชนมีหน้าที่ในการเลือกตัวแทนของตนเข้าไปเป็นผู้บริหารงาน อบต .ซึ่งเราเรียกว่า สมาชิกสภา อบต.ถ้าหากประชาชนเลือกคนไม่ดีเข้าไปเป็นสมาชิกสภา อบต. แล้ว ก็อาจเกิดการทุจริตคอรัปชั่นเกิดขึ้นได้ ดังนั้นประชาชนในตำบลจะต้องเลือกคนดีที่มีความเสียสละและมีความซื่อสัตย์และ แก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของประชาชน ในตำบลได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล

    ๑.๒ ประชาชน มีหน้าที่ในการตรวจสอบการทำงานของ อบต . ให้มีความโปร่งใส ไร้ทุจริตโดยการเข้าไปรับฟังการประชุมสภา อบต.ติดตามความเคลื่อนไหวในการทำงานของ อบต .ว่าใช้จ่ายงบประมาณเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนร่วมหรือไม่ ตรวจการจัดซื้อจัดจ้างของ อบต. มีความโปร่งใส ไร้ทุจริต เป็นต้น


๒.สมาชิกสภา อบต.
    สมาชิก อบต. มีหน้าที่ กำหนดนโยบายให้คณะผู้บริหาร อบต.นำไปปฏิบัติ ซึ่งนโยบายที่ สภา อบต กำหนดออกมาในรูปของแผนพัฒนา อบต .และ ข้อบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายของ อบต. สภา อบต. ที่ดีจะต้องพิจารณาอนุมัติแผนงานหรือโครงการ ที่เป็นความ ต้องการ ที่แท้จริงของประชาชนเท่านั้น


๓.คณะผู้บริหาร อบต
    คณะผู้บริหาร อบต จะมีหน้าที่ในการนำเอาแผนงานหรือโครงการที่ได้รับการอนุมัติจากสภา อบต . ไปปฏิบัติถ้าหากคณะผู้บริหาร อบต .ชุดใดไม่เอาแผนงาน หรือโครงการที่ยังไม่ได้รับการอนุมัติจากสภา อบต.ไปดำเนินการ คณะผู้บริหาร อบต.ชุดนั้นจะต้อง รับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด ดังนั้น คณะผู้บริหารจะไม่สามารถ ดำเนินงานได้เลย ถ้าสภา อบต. ไม่เห็นชอบหรือ ไม่อนุมัติ


๔.พนักงานส่วนตำบล
   พนักงานส่วนตำบล เช่น ปลัด อบต . หัวหน้าส่วนการคลัง หัวหน้าส่วนโยธา เจ้าหน้าการเงินบัญชี เจ้าหน้าที่จัดเก็บ ช่างโยธา ฯลฯ จะมีหน้าที่ในการปฏิบัติงานให้แก่ คณะผู้บริหาร อบต .โดยมี นายก อบต. เป็นผู้บังคับบัญชา


๕.นายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัด
    นายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมีหน้าที่ในการกำกับดูแลการทำงานของ อบต. ให้อยู่ภายใต้กรอบกฎหมาย หรือระเบียบ ของทางราชการ
๖.รัฐบาลและกระทรวง ทบวง กรม
    รัฐบาลมีหน้าที่กำหนดกรอบนโยบายการบริหารส่วนท้องถิ่นเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานการปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศ กระทรวง ทบวง กรม กำหนดกฎหมาย ระเบียบ ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติงานให้ อบต. ถือปฏิบัติ

 


                                  ประชาชนจะได้อะไรจากการมีส่วนร่วมและการตรวจสอบการดำเนินงาน อบต.
    การมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาและการปกครองตนเองของ อบต .โดยมีกฎหมายรับรองสิทธิของประชาชน ให้สามารถดำเนินการได้เพื่อคุ้มครองรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของประชาชน ได้แก่
    ๑.ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความเคลื่อนไหวการดำเนินงานของ อบต .ทั้งด้านบุคคลด้านแผนงานโครงการด้านการเงิน
และระเบียบ กฎหมายที่ประชาชนควรรู้เป็นการเรียนรู้ การพัฒนาและการปกครองตนเองโดยตรง
    ๒.ทำให้การพัฒนา การแก้ไขปัญหา และการจัดบริการสาธารณะของ อบต .สอดคล้องตามความต้องการของประชาชน เป็นไปตาม
ลำดับความจำเป็นเร่งด่วนทำให้การใช้จ่ายเงินของ อบต .เกิดประโยชน์ คุ้มค่ามากขึ้น
    ๓.เป็นการควบคุม การปฏิบัติงาน การใช้อำนาจของผู้บริหารและพนักงานส่วนตำบลเป็นไปด้วยความถูกต้อง อยู่ในกรอบของ
กฎหมายระเบียบและข้อบังคับประชาชนผู้รับบริการก็จะได้รับความเป็นธรรม
   ๕.การใช้จ่ายงบประมาณของ อบต . เป็นไปด้วยความประหยัด โปร่งใส ไม่รั่วไหล และเกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง
ไม่ใช่ปล่อยให้ผู้บริหาร ใช้จ่ายตามอำเภอใจเหมือนที่ผ่านมา
   ๖. การรวมกลุ่มของประชาชนในรูปแบบประชาคมเป็นการสร้างความเข็มแข็งในภาคประชาชน เพื่อควบคุมการใช้อำนาจ
ตามกฎหมายของ อบต .และเป็นพลังถ่วงดุลกับอิทธิพลท้องถิ่นที่จะเข้ามาครอบงำการดำเนินงานของ อบต .
   ๗.การมีส่วนร่วมและการตรวจสอบทำให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลของ อบต ในวงกว้างส่งผลให้การใช่จ่ายงบประมาณ มีความโปร่งใส
ทำให้ผู้ บริหารไม่กล้าทุจริต เบียดบังเอางบประมาณไปใช้ประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง

 

                                                         อบต.มีขั้นตอนทำงานอย่างไร

อบต.มีหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของประชาชนและจัดกิจกรรมต่างตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด ไว้ให้สอดคล้อง
กับปัญหา และความต้องการของประชาชน ในพื้นที่ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้

๑.การจัดทำแผนพัฒนา อบต .
    ซึ่งเป็นขั้นตอนกำหนดโครงการ กิจกรรมที่จะดำเนินการในการแก้ไขปัญหา พัฒนา และจัดบริการต่าง ๆ แก่ประชาชนซึ่งต้อง
ให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการเสนอว่ามีปัญหาอะไรบ้างและต้องการให้ อบต . ทำกิจกรรมหรือจัดบริการอะไร เมื่อสภา อบต . ให้
ความเห็นชอบก็นำไปดำเนินการได้

๒.การจัดทำงบประมาณรายจ่าย
   โดยการคัดเลือกโครงการหรือกิจกรรมที่อยู่ในแผนพัฒนามาจัดทำเป็นข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือเพิ่มเติม เมื่อสภา
อบต .ให้ความ เห็นชอบและนายอำเภออนุมัติก็นำไปปฏิบัติได้

๓.ดำเนินงานตามโครงการ / กิจกรรม ที่อยู่ในข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือเพิ่มเติม โดย
    ๓.๑ การจัดซื้อ - จัดจ้าง โดยอบต . จะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดำเนินการ ซึ่งจะต้องแต่งตั้งผู้แทนประชาคม ร่วมเป็น คณะกรรมการ จัดซื้อ - จัดจ้าง อย่างน้อยคณะละ ๒ คน

    ๓.๒ การเบิกจ่ายเงินโดยนายก อบต . เป็นผู้อนุมัติเพื่อจ่ายให้กับผู้ขายหรือผู้รับจ้างและลงบัญชีเพื่อแสดงรายรับ – รายจ่าย และฐานะทางการเงินการคลังของ อบต .

๔.การจัดเก็บภาษี
   เป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่ อบต . สามารถจัดเก็บภาษีในพื้นที่ได้แก่ภาษีป้าย บำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน อากรฆ่าสัตว์ เป็นต้น เพื่อนำเงินไปใช้ใน การพัฒนาท้องถิ่น

๕.การประชุมสภา อบต .
    เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนพัฒนา อบต . ข้อบัญญัติงบประมาณประจำปีและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมรวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจสภา อบต .

๖.การติดตามประเมินผล
    โดย อบต .ต้องติดตามประเมินผลการทำงานว่าเป็นไปด้วยความถูกต้องหรือไม่ คุ้มค่า หรือไม่และเกิดประโยชน์ต่อประชาชน หรือไม่
๗.การรายงานผลการดำเนินงาน
    โดยฝ่ายบริหารต้องรายงานผลการดำเนินงานให้สภา อบต.ทราบอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง รวมทั้งต้องรายงานให้ประชาชน ทราบ
โดยทั่วกันด้วย


                                         ท่านจะต้องแจ้งใครเมื่อรู้เห็นการกระทำ ผิดของ อบต.
๑.แจ้งหรือร้องเรียนต่อ อบต . กรณี
    ๑.๑ ท่านได้รับความเดือดร้อน ไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือผู้เห็นการกระทำผิดของพนักงานส่วนตำบลให้แจ้งต่อนายกองค์การ
บริหาร ส่วนตำบล นายอำเภอ หรือผู้ว่าราชการจังหวัดตามลำดับ
    ๑.๒ ท่านรู้เห็นสมาชิกสภา อบต .ปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมหรือกระทำความผิดให้แจ้งต่อประธานสภา อบต. นายอำเภอหรือผู้ว่าราช การจังหวัดตามลำดับ


๒.แจ้งหรือร้องเรียนต่อนายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
    ในกรณีได้รับความเดือดร้อน ไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือรู้เห็นการกระทำความผิดของผู้บริหาร สมาชิกสภา อบต . หรือพนักงานส่วนตำบล

 

๓.ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
    หากท่านได้รับความเดือนร้อนเสียหายจากการกระทำของ อบต . สามารถยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ โดยเพียงเขียนชื่อที่อยู่ ชื่อ อบต .ที่ทำความผิดพฤติการณ์ของการกระทำผิดแล้วลงลายมือชื่อของผู้ฟ้องคดี ซึ่งท่านสามารถฟ้องคดีได้ด้วยตนเอง หรือส่งทางไปรษณีลงทะเบียนไปที่        สำนักงานศาลปกครอง เลขที่ ๑๙๕ อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้นที่ ๓๑-๓๗ ถนนสาทรใต้ เขตสาทร กรุงเทพฯ ๑๐๑๒๐ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร ๐-๒๒๗๐-๑๒๐๐-๖๓


๔. แจ้งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
กรณีที่ท่านรู้เห็นการใช้จ่ายเงินของ อบต . ไม่ถูกต้อง หรือมีเหตุอันน่าสงสัยว่ามีการกระทำความผิดให้แจ้งไปที่ สำนักงานตรวจ เงินแผ่นดินภูมิภาคที่อยู่ในเขตจังหวัดของท่าน หรือแจ้งไปสำนักกลางที่ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถนนพระราม ๖ เขตพญาไทย กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทร ๐-๒๒๗๓-๙๖๗๔-๙๑

 

๕.แจ้งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปรามปราบการทุจริตแห่งชาติ ( ปปช .)
หากรู้เห็นสมาชิกสภา ผู้บริหารและพนักงาน อบต . กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ หรือมีความร่ำรวยผิดปกติให้แจ้งสำนักงานคณะ
กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช .) ๑๖๕/๑ ถนนพิษณุโลก แขวงจิตลดา เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
ติดต่อสอบถามรายละเอียด โทร ๐-๒๒๘๒-๓๑๖๑-๕

 

                                 บทบาทการตรวจสอบการดำเนินงานของ อบต. โดยกระบวนการประชาชน

    เมื่อประชาชนเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต.เป็นการมอบอำนาจให้เข้าไปใช้อำนาจบริหารงานใช้จ่ายงบประมาณและออกข้อบังคับต่าง ๆ ดังนั้นเพื่อให้การ ดำเนินงานของ อบต .มีความถูกต้อง และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนจำเป็นจะต้องติดตาม ตรวจสอบ การดำเนิน งานของ อบต . โดย

 

๑.ตรวจสอบรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานของ อบต.
   ได้แก่ แผนพัฒนา อบต .ข้อบังคับงบประมาณรายจ่าย รายรับ - รายจ่าย รายชื่อผู้ชำระภาษี รายชื่อผู้ค้างภาษี สัญญาการจัดซื้อ – จัดจ้าง เป็นต้นโดยประชาชนไปติดตามอ่านข่าวสารที่ปิด ประกาศ หรือขอทราบข้อมูลที่ไม่ได้ปิดประกาศได้ โดยใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ และ พรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ .๒๕๔๐ หาก อบต .ไม่ยอมเปิดเผยข้อมูล สามารถแจ้งต่อ นายอำเภอ หรือ ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะผู้กำกับดูแล อบต.

 

๒.การติดตาม สอดส่องพฤติกรรมของสมาชิก อบต .คณะผู้บริหาร และพนักงาน อบต.
   เพื่อให้ทราบว่าบุคคลดังกล่าวมีความประพฤติเหมาะสมหรือไม่ปฏิบัติงานเป็นไปตามระเบียบกฏหมายหรือไม่หรือละเว้นการปฏิบัติ โดยมิชอบหรือไม่ หากพบความผิดก็ให้รายงานนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือหน่วยงานตรวจสอบอื่น เช่น สำนักงานตรวจเงิน แผ่นดินหรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นต้น

 

๓.ติดตามตรวจสอบการดำเนินโครงการในหมู่บ้าน
    โดยไปดูข้อมูลในสัญญาจ้างว่าโครงการมีขนาดลักษณะอย่างไร งบประมาณเท่าไรใครเป็นผู้รับจ้างเริ่มและสิ้นสุดเมื่อใด ซึ่งหากปฏิบัติไม่ถูกต้องก็ร่วมลงชื่อแจ้งนายก อบต .หรือนายอำเภอ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด

 

๔.ตรวจสอบการจัดซื้อ - จัดจ้าง
    ให้เกิดความโปร่งใส โดยรวมกลุ่มไปร่วมสังเกตการณ์ในวันกำหนดการยื่นซอง และพิจารณา ผลการประกวดราคา สอบราคา หากรู้เห็นความไม่ถูกต้องก็ให้แจ้งนายอำเภอหรือเจ้าหน้าตำรวจ


๕.การถอนถอนผู้บริหารหรือสมาชิกสภา อบต.
    ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า ๑/๕ เข้าชื่อ เสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการลงคะแนนเพื่อถอดถอน ซึ่งจะต้อง มีผู้มาออกเสียงไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และจะต้องออกเสียงถอดถอนไม่น้อยกว่า ๓ /๔ ของผู้มาใช้สิทธิ ออกเสียงจึงจะถอดถอนได้


๖.ประชาชนมีสิทธิคัดค้านและร้องเรียนเมื่อเห็นว่าผู้บริหารดำเนินงานไม่ถูกต้อง
ตามกฏหมายหรือไม่เป็นธรรม หรือสภา อบต . มีมติที่ไม่ถูกต้องหรือก่อให้เกิดความเดือนร้อน หรือพนักงานส่วนตำบล ประพฤติหรือปฏิบัติงานมิชอบด้วย กฎหมาย สามารถ ร้องเรียนต่อนายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัด หากร้องเรียนแล้ว นายอำเภอหรือผู้ว่าจังหวัดไม่ เอาใจใส่หรือไม่สามารถให้ความ เป็นธรรมได้ ให้ ร้องเรียนโดยตรงมายังกระทรวงมหาดไทย หรือฟ้องศาล ปกครองก็ได้

Copyright © 2020 องค์การบริหารส่วนตำบลก้ามปู Rights Reserved.